modal
1. โมเดลเพื่อการตรวจสอบความถูกต้องของงานออกแบบ
นอกจากนี้การสั่งทำ model ก็ยังมีประโยชน์เสริมขึ้นมาด้วย นั่นคือมีหน้าที่เอาไว้เช็คข้อมูลทุกด้านว่าสัมพันธ์กันหรือไม่
จากประสบการณ์ที่เคยเจอ มีกรณีที่แบบสถาปัตย์สวยงาม แบบ interior เรียบร้อย แบบวิศวกรรมสมบูรณ์ดี แต่ท้ายสุดแล้วคนทำโมเดลจะตรวจและรู้ว่าข้อมูลทั้ง 3 อันนี้มันไม่ sync กัน ไม่เชื่อมกัน เช่น บางทีอาจจะเกิดปัญหาพบว่าทำไมคานถึงโผล่ตรงกระจก ทาง model maker ก็จะแจ้งกลับไปยังผู้ออกแบบให้ทราบเพื่อแก้ไข ซึ่งปัญหาแบบนี้เกิดขึ้นได้ ดังนั้นการได้มีคนช่วยตรวจสอบงานก็เป็นผลประโยชน์หนึ่งที่ได้รับจากการสั่งทำโมเดลครับ
2. โมเดลมีประสิทธิภาพในการสื่อสารกับคนจำนวนมาก
แม้ปัจจุบันจะมีเทคโนโลยี VR (virtual reality) นำเสนอภาพแบบเสมือนสามมิติ แต่ก็ยังมีข้อจำกัดเกี่ยวกับ device ตัวแว่น VR ที่ใช้ดู ปัจจุบันยังไม่มีเทคโนโลยีที่จะสามารถทำให้คนหลักสิบหลักร้อยคนเข้าใจร่วมกันพร้อมกันได้ ซึ่งแตกต่างจากโมเดลที่สามารถทำให้คนจำนวนมากเข้าใจตรงกันได้ ดังนั้นโมเดลจึงยังคงเป็นสื่อที่มีประสิทธิภาพในการเข้าถึงคนจำนวนมากได้ดีแบบ 360 องศา เช่น การนำเสนอโมเดลในสำนักงานขาย ในพื้นที่จัดงาน event ลูกค้าและพนักงานขายหลายๆ คนก็สามารถใช้โมเดลสื่อสารกันได้พร้อมกันโดยไม่ต้องรอหยิบใส่แว่น หรือแม้กระทั่งสื่อดิจิทัลก็สามารถใช้โมเดลไปประยุกต์ร่วมได้เช่นกัน
ก่อนที่โมเดลคอนโดจะมาตั้งโชว์ในสำนักงานขายนั้นผ่านกระบวนการขั้นตอนยังไงบ้าง?
1. ประเมินราคาค่าทำโมเดล
เริ่มแรกสุด เมื่อลูกค้าสนใจอยากทำโมเดลก็ต้องให้ลูกค้าส่งไฟล์งานออกแบบและ requirement ต่างๆ กำหนดวันเวลาส่งมอบ บอกความต้องการพิเศษ ฯลฯ ให้กับ model maker เพื่อประเมินราคาก่อนว่าค่าทำโมเดลจะประมาณกี่บาท
ลูกค้าบางท่านจะมีความเข้าใจว่าการทำโมเดลนั้นจะมีราคาตายตัว ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ยังไม่ถูกต้อง บางคนจะนึกว่าแค่บอกขนาดฐานกว้างคูณยาวแล้วก็น่าจะตีราคาได้นะ แต่จริงๆ ข้อมูลแค่นั้นยังไม่พอกับการตีราคา
ด้วยเหตุผลเพราะว่า เนื้องานมีรายละเอียดและต้นทุนที่ต่างกัน บางงานขนาดฐานใหญ่จริงแต่เป็นตึกสูงแค่ 2 เซนติเมตร หรือบางโมเดลฐานขนาดเท่ากระดาษ A3 (29.7×42ซม.) แต่ว่ารายละเอียดงานจัดหนักมากๆ อย่างหลังจึงมีราคาค่าจ้างที่สูงกว่า
ดังนั้นขนาดฐานจึงไม่สามารถบอกราคาค่าทำโมเดลได้
แต่ต้องส่งไฟล์งานมาให้คำนวณและแจ้งข้อมูลให้มากที่สุดก่อนถึงจะประเมินราคาได้ครับ
Post a Comment